ค่านิยมในสังคมไทย

วัตถุประสงค์ทั่วไป 
     1. ทราบถึงความหมาย ความสำคัญ และลักษณะของค่านิยมในสังคมไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน
     2. เข้าใจลักษณะทั่วไปของค่านิยมในสังคมเมืองและสังคมชนบท
     3. เข้าใจแนวทางการปฎิบัติตามค่านิยมพื้นฐานในสังคมไทย
     4. เข้าใจวิธีการปลูกฝังในการสร้างค่านิยมให้กับเยาวชน

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
     1. อธิบาย คความหมาย ความสำคัญ และลักษณะของค่านิยมในสังคมไทยทั้งในอดีตและปัจจุบันได้
     2. อธิบายลักษณะทั่วไปของค่านิยมในสังคมเมืองและสังคมชนบทได้
     3. อธิบายแนวทางการปฎิบัติตามค่านิยมพื้นฐานในสังคมไทย ได้
     4. อธิบายวิธีการปลูกฝังในการสร้างค่านิยมให้กับเยาวชน ได้

เนื้อหาสาระ
    
  ค่านิยมเป็นสิ่งที่คนในสังคมยอมรับว่ามีคุณค่า การปลูกฝังค่านิยมในสังคมไทยเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม
ซึ่งเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของบุคคลในการดำเนินชีวิตระหว่างสมาชิกในสังคมให้สอดคล้องสัมพันธ์กัน
ช่วยเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่สังคม เมื่อมีการรับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาทำให้มีผลกระทบต่อ การ
ดำเนินชีวิต จึงจำเป็นที่จะต้องปลูกฝังค่านิยมไทย ให้เยาวชนได้รับรู้และสืบทอด 
     
 ค่านิยมของสังคมไทย  
      ค่านิยม (Value) ของสังคมไทย หมายถึง สิ่งที่คนสนใจ สิ่งที่คนปราถนาจะได้ ปราถนา จะเป็นหรือกลับ
กลายมาเป็น มีความสุขที่ได้เห็นได้ฟังได้เป็นเจ้าของค่านิยมในสังคมจึงเป้น "วิถีของการจัดรูปความประพฤติ" ที่มีความหมายต่อบุคคล เป็นแบบฉบับของความเป็นแบบฉบับของความคิดที่มีคุณค่าสำหรับยึดถือในการปฎิบัติ
ตัวของคนในสังคม
     
      ความหมายของค่านิยม
     คำว่า ค่านิยมนั้น มีท่านผู้รู้หลายท่านได้ให้ความหมายไว้ ซึ่งพอสรุปได้ว่า
     ค่านิยม เป็นแนวความคิด ความเชื่อ เป็นอุดมการณ์ เป็นความต้องการของกลุ่มคนในสังคม ซึ่งยอมรับว่า
เป็นสิ่งที่ดี มีคุณค่าควรแก่การนำไปเป็นแนวทางในการปฎิบัติ เป็นกรอบของการดำเนินชีวิตเพื่อประโยชน์สุข
ของตนเองและส่วนรวม ทั้งนี้ อยู่ในดุลยพินิจของตนเอง เพราะจะมีค่านิยมที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์
ควบคู่กับไปแต่ละสังคม เพราะค่านิยมของแต่ละสังคมส่วนใหญ่ของมนุษย์ เป็นมรดกทางความคิดของคนไทย
และเป็นพื้นฐานของการเกิดขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอีกด้วย
    
     ลักษณะของค่านิยม
   
  ลักษณะของค่านิยม พอสรุปได้ดังนี้
     1. กำหนดการประพฤติปฎิบัติของคนในสังคม
     2. สมาชิกในสังคมยึดถือมานาน
     3. ค่านิยมที่ยึดถือนั้นเป็นความต้องการของคนในสังคม
     4. สมาชิกในกลุ่มให้การยอมรับ
      ดังนั้น ค่านิยมจึงเป็นรูปแบบความต้องการของมนุษย์ในสังคมหนึ่ง ๆ ที่มีเป้าหมาย มีการยึดถือของสมาชิก
ในกลุ่มนั้น โดยส่งผลให้เกิดการตัดสินใจของคนในสังคม ซึ่งจะนำไปสู่การปฎิบัติสืบทอดเป็นวัฒนธรรม
ว่าเป็นสิ่งที่น่ากระทำและน่ายกย่อง
ค่านิยมทางนำไปสู่การปฏิบัติเป็นวัฒนธรรม
 ลักษณะค่านิยมของสังคมไทยในอดีต
         วิถีชีวิตของสังคมไทยในอดีต ส่วนใหญ่ยึดมั่นปฏิบัติสืบตามบรรพบุรุษ พ่อแม่ และญาติผู้ใหญ่
ทั้งนี้เพื่อทำให้เกิดสุขสบาย ไม่อยากให้ใครเดือดร้อน วิถีชีวิตเป็นแบบเรียบง่ายไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง
แม้ว่าจะมีระบบข้ากับจ้า บ่าวกับนายก็ตาม ค่านิยมของสังคมไทย ในอดีตจะมีลักษณะดังนี้

ี้      1. ยึดมั่นในพระพุทธศาสนา
         คนไทยในอดีตส่วนใหญ่ยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา เพราะเมื่อทำแล้ว เกิด
ความสบายใจ มีความสุขจากการทำบุญ ทำให้คนมีจิตใจดี มีความอ่อนโยน มีเมตากรุณา การประพฤติ
ตามหลักธรรมคำสอนทำให้คนเป็นคนดี อีกทั้งเป็นคนดี อีกทั้งยังเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวด้วย
       2. เชื่อเรื่องในกฎแห่งกรรม
           เป็นแนวทางในสังคมไทยในอดีตเกิดความกลัว ละอายต่อการทำบาป เพราะเมื่อตายแล้วต้องตกนรก
ทำให้เกิดการทำบุญหรือทำความดี เพื่อหนทางสู่สวรรค์นั่นเอง
       3.  เชื่อในเรื่องวิญาณ ภูตผีปีศาจ
            มีความเชื่อในเรื่องอำนาจลีลับที่มีอยู่เหนือมนุษย์ สามารถบันดาลให้เกิดสิ่งที่ดีหรือสิ่งที่ร้าย
ด้วยเหตุผลนี้จึงมีพิธีกรรมเกิดขึ้นมากมายซึ่งเป็นความเชื่อในเร่องไสยศาสตร์ เช่น เชื่อในเรื่องเจ้าที่เจ้าทาง
ผีบ้านผีเรือนเป็นต้น
       4. ยกย่องระบบศักดินา
           เป็นความเชื่อที่ว่าเป็นผู้มีบารมี ความร่ำรวย บุคคลในตระกูลสูงศักดิ์ คือ ผู้ที่เทพเจ้าบันดาลให้มาเกิด
จึงได้รับการย่องย่องเกรงกลัว
       5. เคารพผู้อาวุโส
           อาจหมายถึงผู้ที่สูงอายุ ด้วยคุณวุฒิและวัยวุฒิ มีความเชื่อว่าผู้อาวุโสเป็นผู้มีประสบการณ์  มีความ
สามารถ เช่นสำนวนที่ว่า “ผู้ใหญ่อาบน้ำร้อนมาก่อน” การเคารพผู้อาวุโสจะทำให้มีความสุข เจริญก้าวหน้า
       6. มีชีวิตอยู่กับธรรมชาติ
            เพราะการประกอบอาชีพจะอาศัยแม่น้ำ ลำคลลอง หรือจากน้ำฝน มีการหาของป่าถ้าปีใดเกิดความ
แห้งแล้งจะเป็นปัญหาทางการเกษตรเป็นอย่างยิ่ง เพราะยังไม่มีการค้นเทคโนโลยีสมัยใหม่
        7. เชื่อถือโชคลาง
            เมื่อชีวิตอยู่กับธรรมชาติ จึงถือว่าสิ่งลึกลับจะช่วยให้เกดสิ่งดีหรือร้ายได้ และมีอิทธิพลต่อการ
ชีวิตดำเนินมาก เช่น เสียงทักของจิ้งจก ตุ๊กแก ขณะจะออกจากบ้าน เมื่อได้ยินเสียงก็ให้เลิกล้มความตั้งใจเสีย
 หรือเลื่อนเวลาเดินทางออกไป
       8. ต้องการเป็นที่ยอมรับของสังคม                
 แสดงถึงการพึ่งพาอาศัยกัน มีการปรึกษาหารือ ทำให้ชีวิตไม่เหงา รู้สึกตนเองยังมีคุณค่าในสังคม
      9. ยึดมั่นในจารีตประเพณี
           คนส่วนใหญ่ต่างยอมรับกฎเกณฑ์ที่ปฎิบัติสืบทอดกันมาว่าเป็นสิ่งดีงาม และต้องรักษาแบบแผนไว้
สืบต่อกันไป การไม่ปฎิบัติตามย่อมถูฏตำหนิและเป็นที่รังเกียจของสมาชิกในสังคม
       10. นิยมอำนาจและบารมี
            เนื่องจากสภาพสังคมในอดีตเป็นระบบศักดินา จึงทำให้กลุ่มผู้มีอำนาจพยายามสร้าง ซึ่งเป็นการ
ส่งผลทำให้เกิดบารมีในตนเอง ไปสู่การเป็นผู้มีจิตใจกว้างขวาง มีเมตาต่อผู้ยากไร้ทำให้เกิดระบบอุปถัมภ์
       11. ชอบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
            สังคมไทยในอดีตมีความเข้าใจไว้วางใจกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน หรือแม้นแต่การทำงานที่ต้อง
ใช้เวลาจำกัด เช่น การทำนา ทำไร หรือจัดงานบุญที่บ้านหรือที่วัด ก็นิยมช่วยเหลือกันเรียกประเพณีนิยมนี้ว่า
“การลงแขก”  เป็นต้น
       12. พึงพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่
           เป็นการใช้ชีวิตแบบสันโดษ เพื่อสอดคล้องกับหลักธรรม เป็นกลุ่มอนุรักษนิยมมากกว่า การแสวงหา
ความก้าวหน้า ต้องการความสบายใจ การทำงานจึงไม่เป็นระบบ ไม่มีการวางแผนชีวิตในระยะยาว

        ลักษณะค่านิยมของสังคมไทย
        สภาพของสังคมไทยในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ตามสภาพของสิ่งแวดล้อมและกาลเวลา
 มีการติดต่อค้าขาย สัมพันธ์ทางการทูตกับทางประเทศ มีทุนให้ครูอาจารย์ไปดูงานต่างประเทศ
การช่วยเหลือทางด้านเทคโนโลยีแก่สถาบันการศึกษา ทำให้มีการพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองมากขึ้น
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ค่านิยมตลอดจนประเพณีวัฒนธรรมของสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพ
ของสังคมไทยด้วยดังนี้
         1.ยึดถือในพระพุทธศาสนา
              เช่นเดียวกับในอดีต มีการศึกษาพระธรรมวินัยอย่างลึกซึ่ง ตลอดจนมีการปรับปรุงแก้ไขกฎเกณฑ์
ข้อบังคับของสงฆ์  ประชาชนมีบทบาทตรวจสอบพฤติกรรมทางวินัยสงฆ์ได้ เพื่อป้องกันปัญหาการแสวงหา
ผลประโยชน์จากพุทธศาสนา
          2.เคารพเทิดทูนพระมหากษัตริย์
             สังคมไทยต่างจากสังคมชาติอื่น กษัตริย์ไทยเปรียบเสมือนสมมติเทพ คอยดูแลทุกข์สุขของประชาชน
ทำนุบำรุงประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรื่องในทุกด้าน จึงเป็นศูนย์รวมจิตใจ พระองค์เป็นสิ่งทุกอย่างในชีวิต ของ
คนไทย เป็นที่เคารพของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง
         3.เชื่อในเรื่องของเหตุผล ความเป็นจริง และความถูกต้องมากขึ้นกว่าในอดีต
            ในสภาวะของเหตุการณ์ต่าง ๆ ปัจจุบันสังคมไทยปลูกฝังให้คนไทยรู้จักคิดใช้ปัญญามีเหตุผลมากขึ้น
เช่น ได้ออกกฎหมายเพื่อให้ความคุ้มครองเจ้าของความคิด ไม่ใครลอกเลียนแบบได้เรียกว่า
“ลิขสิทธิ์ทางปัญญา”เป็นต้น
         4.ค่านิยมในการให้ความรู้
           ปัจจุบันสังคมไทยมีการแข่งขันกันตลอดเวลา การจะพาตนเองให้รอดจากปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมได้
จำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถที่โดดเด่นจึงเป็นสิ่งที่คนไทยในสังคมปัจจุบันต้องเสาะแสวงหา
         5.นิยมร่ำรวยและมีเยรติ
             สังคมไทยปัจจุบันให้ความสำคัญเรื่องความร่ำรวยและเงินทอง เพราะมีความเชื่อที่ว่าเงินทองสามารถ
บันดาลความสุขตอบสนองความต้องการของคนได้ ขณะเดียวกันก็จะมีชื่อเสียงเกียรติยศตามมา จึงเป็นจุดเร้าให้
ทุกคนอยากรวย ไม่ว่าจะหาเงินมาด้วยวิธีที่ถูกต้องจาการทำงาน หรือการได้มาด้วยการช่อโกง จึงทำให้เกิด
ช่องว่างระหว่างคนในสังคม
         6.มีความเชื่อมั่นตนเองสูง

            เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนไทยทุกคนกล้าตัดสินใจและกล้าแสดงออกทางความคิดและการกระทำ
 มีบุคลิกภาพเหมาะสมที่จะเป็นผู้นำที่ดี
          7.ชอบแก่งแยงชิงดีชิงเด่น
              ลักษณะกลัวการเสียเปรียบ กลัวสู้เพื่อไม่ได้ เพื่อการอยู่รอดจึงต้องกระทำการแย่งชิง แสวงหา
ผลประโยชน์ให้ตนเอง
          8. นิยมการบริโภค
              นิยมบริโภคของแพง เลียนแบบอย่างตะวันตก รักความสะดวกสบาย ใช้จ่ายเกินตัวเป็นการนำไปสู่
การมีหนี้สินมากมาย
          9.ต้องทำงานแข่งกับเวลา
              ทุกวันนี้คนล้นงาน จึงต้องรู้จักกำหนดเวลา การแบ่งแยกเวลาในการทำงาน การเดินทางและการ
พักผ่อน ให้ชัดเจน
          10.ชอบอิสระ ไม่ชอบอยู่ภายใต้อำนาจใคร
                ไม่ชอบการมีเจ้านายหลายคน ในการทำงานมักประกอบอาชีพอิสระ เปิดกิจการเป็นของตนเอง
                    11.ต้องการสิทธิความเสมอภาคระหว่างหญิงชายเท่าเทียมกัน
                หญิงไทยในยุคปัจจุบันจะมีความคล่องแคล่ว สามารถบริหารงานได้เช่นเดียวกับผู้ชายเป็นที่พึ่ง
ของครอบครัวได้ ภรรยาจึงไม่ใช้ช้างเท้าหลังต่อไป
          12. นิยมการทดลองอยู่ด้วยกันก่อนแต่งงาน
            ซึ่งการเลียนแบบวัฒนธรรมตะวันตกที่มีความเจริญทางวัตถุมากกว่าทางจิตใจ  ผู้ใหญ่ควรทำตน เป็น
ตัวอย่างที่ดีแก่เยาวชน เหมาะสมกับศีลธรรมจรรยา
          13. นิยมภาษาต่างประเทศ
                ปัจจุบันภาษาต่างประเทศมีความสำคัญจำเป็นมาก เพราะต้องใช้ในการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ
และ เทคโนโลยีสมัยใหม่ ๆ  ตำราหรืออินเตอร์เน็ตมีความจำเป็น ต้องรู้ทางภาษาต่างประเทศ หากไม่มีก็ยาก
ต่อการศึกษาและนำไปใช้
 ค่านิยมทั่วไปของสังคมไทย
           ค่านิยมทั่วไปของสังคมไทย มีทั้งดีและไม่ดี ซึ่งแล้วแต่ทัศนคติของแต่ละกลุ่มบุคคลหรือกลุ่มคนตาม
โอกาสหรือวาระต่าง ๆ หากสิ่งใดที่เราเห็นว่าไม่ดีควรหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติ สิ่งใดเห็นว่าดีเป็นประโยชน์แก่สังคม
เราก็ควรปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างสังคมให้ดีขึ้น  ค่านิยมทั่วไปของสังคมไทยมีดังนี้

                         

            1. ความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์
            2. เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา
            3. นับถือเงินตรา ยึดมั่นในเงินทองสิ่งของมากกว่าความดี ให้ความยกย่องต่อผู้มีอำนาจ
            4. ขาดระเบียบวินัย เช่นคำพูดที่ว่า  “ทำอะไรตามใจคือไทยแท้”
            5. เคารพผู้อาวุโส ยกย่องผู้มีความรู้
            6. รักความสนุก ชอบความสบาย รักความอิสระ ไม่ชอบขัดใจใคร
            7. มีความกตัญญูรู้คุณ รักพวกพ้อง มีความเอื้เฟื้อเพื่อแผ่
            8. ไม่ตรงต่อเวลา ชอบผัดผ่อนเลื่อนเวลา
            9. ขาดความอดทน ขาดความกระตือรือร้น เชื่อโชคลาง อยากรวย ชอบเล่นการพนัน
           10. ชอบงานพิธี สอดรู้สอดเห็น ลืมง่าย ชอบนับญาติ
           11. ชอบโฆษณา ชอบของแจกของแถม เห็นใครดีกว่าไม่ได้
           12. ชอบต่อรอง ชอบผูดหรือบอกเล่าเกินความจริง

         ค่านิยมสังคมเมืองและสังคมชนบท
 

          ค่านิยมสังคมเมือง
            1. ชอบหรูหรา ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
            2. นิยมสินค้า Brand name จากต่างประเทศ
            3. ยกย่องผู้มีอำนาจเงินทอง
            4. นิยมในเรื่องวัตถุ
            5. เห็นแก่ตัว มีการแข่งขันกันมาก
            6. เชื่อในเรื่องหลักการเหตุผล

            7. ชอบเสี่ยงโชค
            8. ร่วมงานหรือพิธีกรรมทางศาสนาน้อย
            9. ชีวิตอยู่กับเวลา แข่งขันกับเวลา
           10. ขาดความมีระเบียบวินัย
           11. ไม่ชอบเห็นใครเหนือกว่า เห็นแก่ตัว

         ค่านิยมสังคมชนบท
          1. ประหยัด อดออม เศรษฐกิจพอเพียง
          2. นิยมภูมิปัญญาไทย สิ้นค้าไทย
          3. ยกย่องคนดี ความมีน้ำใจ
          4. นิยมเรื่องคุณงามความดี มีจริยธรรม
          5. เสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เห็นแก่ส่วนรวม
          6. เชื่อโชคลาง ไสยศาสตร์
          7. ชอบเล่นการพนัน
          8. ชอบทำบุญ ร่วมพิธีกรรมทางศาสนามาก
          9. ชีวิตขึ้นอยู่กับธรรมชาติ อาศัยธรรมชาติ
         10. พึ่งพาอาศัยกันและกัน
         11. มีความสันโดษ พอใจในสิ่งที่มีอยู่
 ค่านิยมพื้นฐาน และแนวทางปฏิบัติ ตามค่านิยมพื้นฐานที่ควรยกย่องในสังคม 
               ค่านิยมทางสังคมมีส่วนร่วมส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าแก่สังคมได้ จึงควรปลูกฝังให้มีขึ้นในสังคม
โดยค่านิยมพื้นฐานนั้น คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติได้ประกาศใช้เพื่อปลูกฝังแก่ประชาชนชาวไทย
เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2525 มีดังนี้

         1. การพึ่งพาตนเอง ขยันมั่นเพียร และมีความรับผิดชอบ เพื่อให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างราบรื่น
         2. การประหยัดและอดออม ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินส่วนตัวหรือส่วนรวมก็ตาม
         3. การมีระเบียบและเคารพกฎหมาย ควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อควมสงบสุขในสังคม
         4. การปฏิบัติตามคุณธรรมของศาสนา คือ การทำความดีละเว้นความชั่ว
         5. ความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยการแสดงออกด้วยการกระทำ เช่น เสียภาษีให้รัฐ
เคารพกฎหมายปฏิบัติตามหลักของศาสนา เคารพเทิดทูนปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ให้ใครมาทำลาย
         นอกจากค่านิยมที่กล่าวมาแล้ว ค่านิยมดี ๆ ที่น่ายกย่องและควรปลูกฝังในสังคมไทยยังมีอีกหลายประการ
         1. ค่านิยมเป็นไทย ภูมิปัญญาไทย  ใช้สินค้าไทย ดังคำกล่าวที่ว่า “ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ”
         2. มีความขยัน อดทน มุ่งมั่นในการทำงาน ไม่ย่อท้อต่อปัญหาชีวิต
         3.มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นคนดีไม่คดโกงไม่เห็นแก่ตัว 

            4. มีความกตัญญูรู้คุณ เคราพผู้อาวุโส ไม่ผูกพยาบาท หาโอกาสตอบแทนผู้มีพระคุณ
            5. ยกย่องทำความดี สนับสนุนและส่งเสริมทำความดี
            6. มีนํ้าใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ตระหนักในความสำคัญของคุณธรรม ขนบธรรมเนียยมประเพณีที่ดีงาม
            7. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ยึดมั่นหลักการประชาธิปไตย เครารพกฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับ เพื่อความ
สงบสุขของสังคม
            8. เห็นความสำคัญของครอบครัว ในฐานะที่เป็นรากฐานในการพัฒนาเยาวชน พัฒนาคนช่วยกันรักษา
สาธารณสมบัติและมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ

          ค่านิยมที่ควรแก้ไขในสังคมไทย
         
 ค่านิยมของสังคมไทยนั้นไม่ใช้ว่าจะก่อให้เกิดผลดีต่อสังคมทั้งหมดดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เพราะค่านิยม
ที่ไม่ควรยกย่องที่เกิดขึ้นในสังคมก็ยังมีอยู่มาก ซึ่งถ้าคนในสังคมปฎิบัติยึดถือ ย่อมก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคม
นั้น ๆ ได้ดังนั้น ค่านิยมดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่ควรแก้ไข ซึ่งมีดังนี้
           1. ให้ความสำคัญกับวัตถุ หรือเงินตราย่อมก่อให้เกิดผลเสียได้รับการดูถูกดูแคลน เป็นที่รังเกลียดต่อสังคม
           2. ยึดถือในตัวบุคคล ยกย่องผู้มีอำนาจ มีเงิน
           3. รักพวกพ้อง รักความสนุกสนาน ความสบาย
           4. รักความหรูหรา ฟุ่มเฟือย นิยมใช้สิ้นค้าแพง
           5. ไม่ตรงเวลา ขาดระเบียบวินัย ขาดความกระตือรือร้นและความอดทน
           6. เชื่อเรื่องโชคลาง
 อำนาจเหนือธรรมชาติ ชอบเล่นการพนัน
        7.
 ขาดความเคราพผู้อาวุโส
        8. นับถือวัตถุมากกว่าพระธรรม ทำบุญเอาหน้า หวังความสุขในชาติหน้า
        9. นิยมตะวันตกลืมภาษาไทย ซึ่งเป็นภาษาของชาติื จนทำให้ภาษาไทยผิดเี้พี้ยน
       10. พูดมากกว่าทำ หน้าใหญ่ใจโต สอดรู้สอดเห็น เห็นใครดีไม่ได้
        ค่านิยมเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาได้เช่นเดียวกับความเชื่อ ซึ่งแตกต่างกันไปตามสังคมและวัฒนธรรม
ส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ปฎิบัติอยู่ก็ควรจะระลึกไว้ว่า สิ่งใดดี สิ่งใดเหมาะสม ในสภาพสังคมปัจจุบัน
เราจึงควรเลือกให้ได้ว่าค่านิยมใดคือค่านิยมที่ดีและควรปฎิบัติ

 การสร้างค่านิยมให้กับเยาวชน 
        ถ้าเด็กหรือเยาวชนในวันนี้เป็นผู้ที่มีคุณค่า มีปัญญา เป็นผู้มีคุณธรรมและสติปัญญาในทางที่ถูกต้อง
สังคมไทยจะได้ผู้ใหญ่ที่ดีในอานาคต ครอบครัวเป็นสถาบันแรกที่สำคัญที่สุดในการแต่งแต้มคุณธรรมความดี
หรือสิ่งที่เลวร้ายให้กับเด็กได้ ดังนั้น การอบรมเยาวชนให้เป็นคนดีสามารถปฎิบัติได้ดังนี้
       1. สถาบันครอบครัวสามารถปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้เยาวชนได้ โดยพ่อแม่ ผู้อบรมเลี้ยดูต้องเป็นแบบอย่างที่ดี
ให้กับลูกเพื่อให้เขาเติบโตมาอย่างมีคุณภาพทั้งร่างกายและจิตใจ
       2. สถาบันการศึกษา ให้การอบรมสั่งสอนในด้านความรู้ คิดเป็น ทำเป็น มีคุณธรรม จริยธรรม โดยครูต้อง
เป็นแบบอย่างที่ดีต่อศิษย์ เพื่อสร้างเขาให้เป็นคนดี
       3. การปลูกฝังทั้ง 2 สถาบัน นอกจากจะอบรมสั่งสอนและเป็นแบบอย่างที่ดีแล้ว ควรปลูกฝังให้เยาวชนรู้จัก
ใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหาด้วยเหตุผลแห่งความถูกต้อง เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการปฎิบัติ ที่ว่าสิ่ง ที่ตน
ได้ปฎิบัตินั้นเป็นสิ่งที่ดีถูกต้อง

2 ความคิดเห็น: